ผ่อนรถต่อไม่ไหว ฟังนะ ! ทนายดังแนะ ทำตาม 5 ข้อนี้ รถไม่ถูกไฟแนนซ์ยึด แถมอาจได้เงินคืน

ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา

เพิ่มเพื่อน

 

ในกรณีที่ซื้อรถใหม่ป้ายแดงไปแล้วนั้น ผ่านไป 2-3 ปี ไม่สามารถผ่อนรถได้อีกต่อไป เพราะมีค่าใช้จ่ายเข้ามามากจนเกินความสามารถในการผ่อนชำระ จนทำให้ค้างส่งนาน อาจถึงขั้นเตรียมโดนยึดรถมาขายทอดตลาดจากบริษัทไฟแนนซ์ หากใครมีคำถามว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง

วันนี้เรารวบรวมคำตอบที่ได้จาก นายนิติธร แก้วโต หรือ ทนายเจมส์ ทนายความชื่อดัง ที่อาสามาให้คำแนะนำแนวทางแก้ปัญหาไว้ 5 วิธีหลักๆ ดังนี้

1. การคืนรถ

– กรณีการคืนรถโดยผิดสัญญา หรือ ค้างผ่อนชำระหลายงวด โดยจะต้องชำระค่าเสียหาย ค่าขาดประโยชน์ อื่นๆ ยิ่งค้างชำระหลายงวดจะยิ่งเสียค่าเสียหายจำนวนมาก

– กรณีการคืนรถโดยที่ไม่ผิดสัญญา หรือ ไม่ได้ค้างผ่อนชำระ ลักษณะนี้ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายหรือค่าขาดประโยชน์ใดๆ เนื่องจากไม่ได้ค้างชำระ ไฟแนนซ์จะคิดเพียงค่าส่วนต่างเวลาที่ขายรถและขาดทุนเท่านั้น

2. การขายให้บุคคลอื่นโดยไม่ได้เปลี่ยนสัญญา

ขายให้บุคคลอื่นโดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญา โดยผู้เช่าซื้อยังเป็นคนเดิมอยู่ ซึ่งกรณีนี้ค่อนข้างเสี่ยงอย่างมากๆ หากคนที่ซื้อรถไปแล้วเอาไปขายให้คนอื่นต่อ หรือรถหาย ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเต็มๆ อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีที่ไม่แนะนำ อย่างบางเคสเอารถไปจำนำในบ่อน หรือเอาไปขายให้เต็นท์ เจ้าของหรือผู้เช่าซื้อรถจะต้องปวดหัวไปตามหารถมาคืนไฟแนนซ์

3. การขายให้บุคคลอื่นโดยเปลี่ยนสัญญา

เป็นการขายเปลี่ยนสัญญา และนำเงินที่ได้ไปปิดจ่ายไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ปลอดภัยทั้งคนค้ำประกัน ปลอดภัยทั้งผู้เช่าซื้อด้วย แต่ต้องหาคนซื้อรถ หาคนเปลี่ยนสัญญาให้ได้ โดยอาจจะต้องยอมขายขาดทุน เพื่อแลกกับเวลาและค่าใช้จ่ายที่จะตามมาในอนาคต

4. รีไฟแนนซ์ใหม่หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่

โดยขยายระยะเวลาการผ่อนออกไป และขอลดยอดการผ่อนในแต่ละเดือนลง แต่ผลที่อาจจะตามมาคือเสียดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์ให้กับที่ไฟแนนซ์ มากขึ้น

5. เจรจาขอผ่อน เฉพาะดอกเบี้ยไปก่อน

โดยยังคงต้นเงินไว้ เผื่อในอนาคต ผู้เช่าซื้ออาจจะมีเงินก้อนไปปิด ก็จะทำให้เจรจาได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ทนายเจมส์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในกรณีที่เจ้าของรถผ่อนไม่ไหว ไม่มีเงินโปะ และไม่ยอมเอารถไปคืนนั้น มี 2 กรณี คือ กรณีแรก ยังมีรถอยู่กับตัว อาจถูกไฟแนนซ์ฟ้องแพ่ง ในข้อหา ผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบังคับยึดรถ หรือตามยึดทรัพย์อย่างอื่น แต่ฟ้องคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ไม่ได้

กรณีที่สอง ไม่มีรถอยู่กับตัวแล้ว โดยเอาไปขายต่อเต็นท์รถ หรืออื่นๆ ในระหว่างสัญญา เจ้าของรถอาจจะถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหา ยักยอกทรัพย์ได้ เพราะกรรมสิทธิ์รถเป็นของไฟแนนซ์ ดังนั้น เจ้าของรถไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาไปขาย.

credit :  siamnews.com

 

ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา

เพิ่มเพื่อน

ใส่ความเห็น