ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา
ผักแพว เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ ผักแพ้ว ผักไผ่ ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า พริกม้า จันทร์แดง จันทร์โฉม หอมจันทร์ เป็นต้น มักพบได้ทั่วไปตามริมน้ำ มีลักษณะเป็นพืชล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวรูปหอก มีกลิ่นหอมฉุน ดอกเป็นช่อสีขาวนวลหรือชมพูม่วง
โดยผักแพวมี 2 ชนิดหลักๆคือ ผักแพวแดง และผักแพวขาว แตกต่างกันเพียงสีของต้น แต่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรเหมือนกัน ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรคู่กัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
สรรพคุณของผักแพว
– ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)
– ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)
– ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)
– ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
– ช่วยบำรุงประสาท (ราก)
– รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)
– ช่วยรักษาโรคหวัด (ใบ)
– ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
– ช่วยรักษาโรคปอด (ดอก)
– ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)
– ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
– ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)
– ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ, ยอดผักแพว) ใช้เป็นยาขับลมขึ้นเบื้องบน ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– รากผักแพวช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก) แก้กระเพาะอาหารพิการหรือกระเพาะอักเสบ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ใบผักแพวช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
– ลำต้นผักแพวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
– ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ดอก, ต้น, ราก)
– ช่วยรักษาโรคตับแข็ง (ใบ)
– ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)
– ใบผักแพวใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้าขาว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ, ทั้งต้น)
– ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
– ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)
– ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ข้อควรรู้ ! : ผักแพวหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่สองชนิดที่ต่างกันแค่สีต้น คือ ผักแพวแดงและผักแพวขาว เป็นสมุนไพรคู่แฝดที่นำมาประกอบเป็นจุลพิกัดหรือใช้คู่กันเป็นยาสมุนไพรจะมีฤทธิ์ยาแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นด้วย
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา