เรียน 7 สาขาวิชานี้ ปี 2567 โอกาสตกงานน้อย แถมบริษัทใหญ่ๆ ต้องการรับเข้าทำงานมากที่สุด

เรียน 7 สาขาวิชานี้ ปี 2567 โอกาสตกงานน้อย

1.สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เป็นสาขาที่ไม่โดนแย่งงานและมีความเสี่ยงต่ำมาก เพราะไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีและอนาคตต่อไป สายงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่าง เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ก็จะยังเป็นกลุ่มอาชีพที่ไม่มีวันตกงาน เพราะความต้องการของตลาดงานทั่วโลกไม่เพียงพอ อีกอย่างเป็นสายอาชีพที่เรียนยาก และเป็นหลักสูตรเฉพาะทางที่มีอาชีพรองรับแน่นอนแทบทั้งสิ้น
เช่น

  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • คณะชีวการแพทย์

2.สายการเงิน การลงทุน ประกันภัย อสังหา

สายงานนี้บอกเลยยังไงก็ไม่ตกงานเพราะงานที่คนส่วนใหญ่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว อย่างการเงิน การลงทุน โดยเฉพาะอาชีพด้านการให้คำปรึกษาก็กำลังมาแรงยิ่งบวกกับเศรษฐกิจในยุคนี้ การจะลงทุนหรือนำเงินไปใช้อะไรก็ตาม จะใช้แบบใจคิดคงไม่ได้ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและที่สำคัญ ผู้คำปรึกษา ยังมีจำนวนไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับตลาดผู้บริโภค
เช่น

  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน
  • คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการบริหารการเงิน
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาการเงิน
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการเงิน และการคลัง
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาการเงินการธนาคาร
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิศวกรรมการเงิน

 

3.สายเทคโนโลยี นวัตกรรม

สาขายืนหนึ่งที่จะ ไม่ตกงาน แน่นอน เพราะสายอาชีพเทคโนโลยีนี้เอาเข้าจริงๆยังขาดตลาดอยู่ค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเมอร์ เทสเตอร์ และสายออกแบบอย่าง UX/UI ก็ถือว่าเป็นที่ต้องการอย่างสูงในขณะนี้ เพราะในประเทศไทยมีคณะสาขาที่สอนสายอาชีพนี้ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยอิงจากเว็บรับสมัครงานส่วนใหญ่สายเทคโนโลยีแทบจะเป็นอันดับ 1 ที่หลายๆ องค์กรต้องการตัว หากฝีมือดีโปรไฟล์แน่นๆหางานไม่ยากและไม่ตกงานรับรองได้
เช่น

  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

4.สายวิศวกรรม โลจิสติกส์ โทรคมนาคม

แม้วิศวะจะมาแรงในเรื่องสายงานที่สามารถรองรับแรงงานได้ก็ตาม แต่สาขาโลจิสติกส์กับโทรคมนาคมก็กำลังมาแรงไม่แพ้กัน เอาแค่ในประเทศการเติบโตด้านโลจิสติกส์และโทรคมนาคมเติบโตไวมากอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งที่มีทางเลือกมากขึ้น และเส้นทางรถไฟฟ้าที่เริ่มทยอยเปิดหลายเส้นทางทำให้ความต้องการแรงงานเพื่อดูแลหน้าที่ในส่วนงานนนี้เป็นจำนวนมากและเป็นที่แน่นอนว่า ไม่เสี่ยงตกงาน
เช่น

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะโลจิสติกส์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะเทคโนโลยีสังคม

5.สายสิ่งแวดล้อม / อุตสาหกรรม / การควบคุมคุณภาพ

ไม่ว่าจะมองไปทางไหนเราก็มักจะเห็นป้ายรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ถ้าเอาจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดง่ายๆเลยก็คือขวดน้ำไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำรักษ์โลกลดทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต หรือซื้อขวดน้ำ=ปลูกต้นไม้ ก็เป็นหน้าที่ของสายสิ่งแวดล้อมที่จะคอยพัฒนาแนวทางในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะทางตรงหรืออ้อมและแน่นอนว่าเป็นอาชีพที่ความเสี่ยงตกงานน้อยมาก เพราะหลายๆองค์กรต้องการผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้าไปดูแลและพัฒนาทรัพยากรขององค์กรที่นอกจากจะต้องลดต้นทุนแล้วต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
เช่น

  • คณะเกษตรศาสตร์
  • คณะวนศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา
  • คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ

6.สายการตลาดและธุรกิจ

นับตั้งแต่การตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาท สายงานนี้จึงเป็นที่ต้องการอย่างรวดเร็วไม่ว่าบริษัทไหนก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นอย่างมากจนทำให้เริ่มขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและธุรกิจ และแน่นอนว่าความต้องการสายงานนี้จะยังคงพุ่งสูงขึ้นอีกเพราะตลาดออนไลน์นั้นเปลี่ยนแปลงแทบจะทุกวันและไม่มีวันหยุดนิ่ง ใครที่ชอบสายงานออนไลน์บอกเลยไม่ผิดหวังได้งานชัวร์
เช่น คณะสาขา

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาด
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาการตลาด
  • คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขาการตลาด
  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการตลาด
  • คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการตลาด

7.สายวิชาชีพเฉพาะทาง นิติศาสตร์ สถาปนิก

เพราะเป็นสายงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะด้าน ทำให้สาขาเหล่านี้เป็นสาขาที่มีความเสี่ยงจะตกงานน้อยมาก เช่นกัน อีกทั้งจำนวนผู้ประกอบอาชีพนี้นับว่าน้อยกว่าความต้องการด้วยซ้ำไป เพราะกว่าจะเรียนจบต้องเก็บประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและที่สำคัญเลยคือต้องสอบเอาประกอบวิชาชีพอีกด้วย ไม่แปลกใจเลยทำไมตลาดอาชีพถึงมีไม่เพียงพอ
เช่น

  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ใส่ความเห็น