สุดเจ๋ง วิธีทำอุปกรณ์ดักหนูง่ายๆ ปลอดภัย ได้ผลจริงๆ บ้านไหนมีหนูเยอะลองไปทำดู

วันนี้มีรวมไอเดียการทำอุปกรณ์สำหรับดักจับเจ้าหนูตัวน้อย ที่ชอบมากัดแถะหรือทำลายข้าวของในบ้านของเรา ซึ่งทุกวิธีนั้นเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ได้ทำให้หนูเจ็บแต่อย่างได เพียงแค่ทำให้มันอยู่ภาบในอุปกรณ์ที่เราสร้างไว้ จากนั้นก็นำไปปล่อยต่อไป เป็นผลดีต่อคนในบ้านและไม่สร้างอันตรายให้เจ้าหนูด้วย

ยังไงก็ลองเอาไปลองทำกันดูนะคะ วัสดุก็หาง่ายๆ ทุกคนบ้านก็มีกันอยู่แล้ว ส่วนวิธีทำสามารถชมได้จากคลิปวิดีโอได้เลย

แถมด้วย10 วิธีกำจัดหนูให้หมดไปจากบ้านของคุณ

1. ซื้อกับดัก

ต่อให้บ้านของคุณอยู่ในเมือง ไม่ใช่บ้านในต่างจังหวัดที่อยู่กลางไร่กลางสวน หรือใกล้ชิดธรรมชาติ ก็มีสิทธิมีหนูมาเยือนได้ หากมีอาหารล่อตาล่อใจ ทันที่ที่เห็นร่องรอยหนู ไม่ว่าจะเป็นตัวเป็นๆ หรือรอยเท้า รอยแทะอาหารหรือเฟอร์นิเจอร์ สิ่งที่ต้องทำทันทีก็คือการวางแผนทำให้หนูพวกนั้นหมดไปจากบ้าน เริ่มต้นด้วยการไปซื้อหากับดักหนูมาไว้ที่บ้าน หรือหากคุณกำลังคิดจะเลี้ยงสัตว์อยู่พอดีล่ะก็ แมวซักตัวน่าจะเป็นคำตอบที่พอดีสำหรับทั้งสองเรื่องเลยก็ได้

2. เลือกตัวล่อที่ดี

ในแง่ของกับดัก กับดักหนูที่เราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดมี 2 แบบ อย่างแรกคือแบบที่เป็นกรงแล้วล่อให้หนูเข้าไปกินของข้างใน ส่วนอีกแบบเป็นแบบกับดักที่หนีบหนูให้ติดอยู่กับกับดัก แบบหลังนี้มีทั้งแบบกาวและที่เป็นเหล็กหนีบขาหนูเอาไว้ ซึ่งถ้าพูดในแง่ความรุนแรงแล้วแบบที่หนึ่งน่าจะดูรุนแรงน้อยกว่า จึงเป็นที่นิยมมากกว่า

แล้วถ้าจะใช้กับดักแบบแรก ต้องใช้อะไรเป็นเหยื่อล่อล่ะ คำตอบก็คืออาหารที่หนูชอบโดยทั่วไป อย่างที่เราเห็นในบ้านฝรั่งก็จะเป็นพวกชีส เนยถั่ว หรือแม้แต่ช็อกโกแลต ในถ้าเป็นในบ้านเราก็อาจใช้พวกหัวปลาทูที่มีกลิ่นล่อจมูกก็ได้ โดยทั้งนี้จะต้องจัดให้แน่ใจว่าเหยื่อล่อเหล่านี้แขวนติดอยู่กับจุดที่เมื่อหนูกระตุกกินแล้วจะทำให้กรงปิดได้จริงๆ ไม่ใช่หล่นอยู่กับพื้น ซึ่งพาลแต่จะดึงสัตว์ที่ไม่ได้รับเชิญชนิดอื่น เช่น มด แมลง มาเพิ่มเสียเปล่าๆ

3. ตามหารัง

ทราบกันดีว่าหนูเป็นสัตว์ที่ว่องไว ถึงเราจะตัวใหญ่กว่าแต่ถ้าจะให้มาวิ่งจับเจ้าหนูตัวเล็กจิ๋วพวกนี้ก็คงไม่ทันอยู่ดี ทางที่ดีคือต้องสังเกตร่องรอยของพวกมัน เช่น ขี้หนู แล้วตามไปจนถึงจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นที่อยู่ของพวกมันแล้วจัดการน่าจะเบ็ดเสร็จกว่า

ทั้งนี้หนูอาศัยอยู่ได้ทั้งที่สูงมากๆ อย่างบนหลังคา บนฝ้าเพดาน หรือที่ต่ำอย่างในรู ในท่อ หากเราตามจนเจอแล้วก็สามารถวางกับดักได้ในจุดที่พวกมันจะเดินทางผ่านได้นั่นเอง

4. บ้านหนูตามใต้ตู้

นอกจากจุดที่กล่าวถึงไปในข้อที่แล้ว ตามใต้ตู้ใต้เตียงเป็นอีกจุดที่หนูอาจซ่อนตัวอยู่ได้ หรืออย่างบ้านที่มีพรมแล้วมีชายยาวๆ หนูบางตัวก็อาจเข้าไปซุกหาความอบอุ่นอยู่แถวนั้น หากจะวางกับดักก็อย่าลืมมองข้ามจุดเหล่านี้ที่อาจเป็นที่ซ่อนของหนูด้วยก็ได้

5. สังเกตรูข้างผนัง

เหตุผลที่หนูมาอยู่บ้านเรามี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ มันต้องการอาหาร และต้องการที่อยู่ที่อุ่นๆ อย่างรูนอกบ้าน ตามท่อ หรือตามทุ่งอาจจะเปียกชื้นไปสำหรับพวกมันในบางช่วงเวลา หนูก็อาจย้ายสำมะโนครัวมาอยู่ในบ้านคนโดยเฉพาะตามร่องแตกของผนัง รูหรือช่องที่เปิดทิ้งไว้ หรือแม้แต่ท่อระบายอากาศที่เชื่อมกับห้องน้ำ นอกจากจะอุ่นกว่าข้างนอกแล้ว ที่สำคัญ คือ มีอาหารให้กินครบถ้วนนั่นเอง

อย่างที่บอกไป ด้วยเหตุนี้จึงมีจุดที่เป็นไปได้หลายจุดที่หนูจะมาใช้อาศัยในบ้านของเรา หากคิดจะวางกับดัก ลองจินตนาการว่าเราเป็นหนูที่ย้ายหาหลักแหล่งอยู่ แล้วจะพบว่าจุดเหล่านี้ก็ไม่น่ามองข้ามเช่นกัน

6. ป้องกันบริเวณที่มีอาหาร

จุดใหญ่ที่ทำให้หนูมาอยู่ในบ้านคน นั่นก็คืออาหาร แล้วจะมีแหล่งอาหารตรงไหนในบ้านที่เหมาะไปกว่าห้องครัวคงไม่มี ยิ่งถ้าเป็นห้องครัวที่มีอาหารเหลือค้าง ถังขยะปิดไม่สนิท หรือมีชามอาหารสัตว์ตั้งเหลือไว้ ของพวกนี้เป็นบัตรเชิญให้หนูมาที่บ้านได้อย่างดีทีเดียว

ก่อนจะข้ามไปถึงขั้นการกำจัดหนู เราจึงควรทำให้แน่ใจว่าในบ้านและในครัวของเราจะสะอาด ไม่มีอะไรเชิญชวนหนูพวกนี้ให้มาย่ามกราย เช่น ควรเก็บอาหารให้มิดชิด มีตู้ที่ปิดสนิท ทำความสะอาดพื้นไม่ให้มีรอยอาหารตกหล่น จัดระบบการกำจัดขยะให้ดี เป็นต้น นอกจากจะป้องกันหนูแล้วยังช่วยป้องกันสัตว์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ ได้อีกด้วย

(ดูเพิ่มเติม แบบครัวพร้อมตู้เก็บของติดผนัง คำแนะนำสำหรับใครที่ต้องการทำครัวที่มีตู้เก็บของมิดชิด)

7. ป้องกันการบุกรุกเข้าบ้าน

ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของบ้านที่มีสนามหญ้า มีสวนรอบๆ หรือบ้านที่อยู่ตามชนบท ไร่นา คือ มักจะป้องกันหนูเข้าบ้านได้ยาก เนื่องจากมีพื้นที่มากแถมยังมีจุดให้พวกมันซ่อนตัวได้เยอะ หากหนูคิดจะเปลี่ยนสำมะโนครัวย้ายเข้ามาหาความอบอุ่นในบ้านเรา หรือบุกห้องครัวเป็นครั้งคราว เราก็อาจสังเกตได้ยาก

ทางป้องกันที่พอทำได้ นอกเหนือไปจากการดูแลบ้านไม่ให้มีสิ่งล่อตาล่อใจเช่นในข้อ 6 แล้ว คือพยายามตัดแต่งสนามหรือสวนให้เป็นระเบียบ ปิดทางเข้าที่คิดว่าน่าจะทำให้หนูเล็ดลอดเข้ามาในบ้านได้ หรือหากจำเป็น อาจวางกับดักในจุดที่คิดว่าเป็นเส้นทางของพวกมันนอกบ้านด้วยก็ได้

8. วางกับดักให้ติดผนัง

ถ้าอยู่นอกบ้าน โดยปกติหนูจะอยู่ในจุดที่เป็นผู้ถูกล่าในระบบห่วงโซ่อาหาร โดนล่าโดยนกบ้าง งูบ้าง รวมถึงสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่กว่า ด้วยเหตุนี้พวกมันจึงจะค่อนข้างระวังตัวเป็นอย่างมาก หากมีอะไรไม่น่าไว้วางใจมันก็จะหาที่ซ่อนที่ดูมิดชิด เช่นใต้ตู้ใต้เตียง ตามหลังโซฟาที่ดูทึบตัน หรือถ้าเป็นที่โล่งกว้าง พวกมันก็มักจะวิ่งติดไปกับแนวผนัง เพราะอย่างน้อยก็มีด้านหนึ่งที่ทึบ ดูเป็นที่กำบังได้ ด้วยนิสัยตามธรรมชาติของพวกมันที่เป็นอย่างนี้นี่เอง เราจึงสามารถนำมาประยุกต์เรื่องจุดในการวางกับดักได้ โดยควรวางที่ดักหนูในที่ที่ติดกับผนัง ตามตู้ หรือแม้แต่ตามตู้หนังสือ เพราะเชื่อได้ว่าเป็นเส้นทางที่หนูจะต้องผ่านอย่างแน่นอน

9. ยาพิษไม่ใช่สิ่งจำเป็น

เห็นได้ว่าตั้งแต่ข้อแรกๆ เราจะเอ่ยถึงวิธีการจับหนูแบบที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีมากนัก อย่างการกับดัก หรือแม้แต่ใช้แมวเป็นตัวล่อ ทั้งนี้ก็เพราะ แม้การใช้สารเคมี เช่น ยาเบื่อหนู จะได้ผลชะงักงันกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง แนะนำว่าไม่ควรใช้ยาพวกนี้เป็นอันขาด เพราะเด็กหรือสัตว์เลี้ยงอาจเผลอเข้าไปสัมผัสหรือกินยาเหล่านี้ได้ (แม้เราจะคิดว่าเราดูแลอย่างดีแล้วก็ตาม)

10. อยู่กับหนูไม่ใช่เรื่องสนุก

แม้เราจะเลือกวิธีกำจัดหนูที่ดูรุนแรงน้อยแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะต้องใจดีถึงขั้นอยู่ร่วมกันกับหนูในบ้าน (หนูที่เป็นสัตว์เลี้ยง ได้รับการฉีดวัคซีน ควบคุมโรคแล้วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) เพราะหนูเป็นพาหะนำโรคหลายชนิด และบางชนิดมีผลถึงขั้นเสียชีวิต ต่อให้ไม่โดนหนูกัด ไม่ถ่ายของเสียลงบนอาหาร แต่แค่พวกมันไปเหยียบอะไรสกปรกแล้วมาวิ่งเพ่นพ่านในครัวก็เป็นผลเสียแล้ว

ตราบใดที่เราต้องการอยู่อาศัยในบ้านอย่างมีความสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ ก็ควรดูแลรักษาบ้านไม่ให้มีหนูมาเพ่นพ่าน เริ่มต้นตั้งแต่การดูแลบ้านไม่ให้มีสิ่งล่อหนู เรื่อยไปถึงการกำจัดหนูให้หมดไป ทั้งนี้หากวิธีที่แนะนำมาข้างต้นยังไม่ได้ผล ถึงตอนนั้นก็คงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้กำจัดให้ในที่สุด

ใส่ความเห็น