สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
คุณสมบัติ
– เป็นบุคคลภายนอก เพศชาย
– อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่เกินยี่สิบเจ็ดปีบริบูรณ์นับถึงวันปิดรับสมัคร
– ร่างกายต้องสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร และรอบอกไม่น้อยกว่า 77 เซนติเมตร
– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า โดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรจากสถานศึกษานั้นๆ ภายในวันปิดรับสมัคร
การรับสมัครสอบ
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการที่เว็บไซต์ http://www.policeadmission.org
อัตราที่เปิดรับ
กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) จำนวน 1000 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 1 (ภ.1) จำนวน 400 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 2 (ภ.2) จำนวน 300 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 3 (ภ.3) จำนวน 400 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 4 (ภ.4) จำนวน 400 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 5 (ภ.5) จำนวน 300 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 6 (ภ.6) จำนวน 400 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 7 (ภ.7) จำนวน 300 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 8 (ภ.8) จำนวน 200 อัตรา
ตำรวจภูธรภาค 9 (ภ.9) จำนวน 500 อัตรา
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) จำนวน 700 อัตรา
สำนักงานขนส่งกำลังบำรุง จำนวน 30 อัตรา
กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 200 อัตรา
กองบัญชาการศึกษา จำนวน 25 อัตรา
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 15 อัตรา
กองบินตำรวจ จำนวน 30 อัตรา
***สอบข้อเขียนวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561***
วิชาที่สอบ
การสอบข้อเขียน ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ 150 คะแนน ใช้เวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1. ความสามารถทั่วไป จำนวน 30 ข้อ
ทดสอบความรู้ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความคิดเชิงจำนวน โดยใช้ข้อมูลหรือปัญหาทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสม การคิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วยการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อุปมาอุปไมย อนุกรม และมิติสัมพันธ์ ความสามารถในการคิดเชิงจำนวน ประกอบด้วยคณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ การคำนวนขั้นพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ การแก้สมการและอสมการ เซต ตรรกศาสตร์ และสถิติพื้นฐาน ได้แก่การแจกแจงความถี่ ตาราง กราฟ การหาค่ากลาง และการวัด การกระจาย
2. ภาษาไทย จำนวน 25 ข้อ
ทดสอบความสามารถการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา ได้แก่ ทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ การใช้ถ้อยคำ สำนวน การใช้คำให้ตรงกับความหมาย กฎเกณฑ์และความนิยม การจับใจความ วิเคราะห์ความ สรุปความ หรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือจากบทความ การพิจารณาเลือกใช้ภาษาในงานเขียนรูปแบบต่างๆ
3. ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 25 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทักษะการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ
4. ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) จำนวน 30 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ (Reading for Comprehension) คำศัพท์ (Vocabulary) โครงสร้างของประโยคต่างๆ (Structure Sentence) หลักไวยากรณ์ (Grammar) และการสนทนา (Conversation) เป็นต้น
5. สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จำนวน 20 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม หลักศิลธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมและการปฏิบัติงาน และหลักธรรมาภิบาล และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
6. กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ จำนวน 20 ข้อ
ทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ที่ประชาชนควรรู้
ที่มา กองการสอบ